ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

รับรองบุตร

รับรองบุตร

การรับรองบุตร คือ การที่ฝ่ายชายรับรอบว่า เด็ก เป็นบุตรของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมี 3 วิธี คือ 1.ฝ่ายชายจดทะเบียนสมรสกับฝ่ายหญิง 2.ฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองบุตร 3.ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

การจดทะเบียนรับรองบุตร มารดาต้องให้ความยินยอม และเด็กต้องพอรู้เรื่อง อ่านออกเขียนได้ โดยทั่วๆก็ประมาณ 7 ขวบขึ้นไปเช่นนี้ เด็กก็ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย มีผลให้ อำนาจปกครองดูแลบุตร นั้น ฝ่ายหญิงและชาย ใช้อำนาจปกครองดูแลเด็กร่วมกัน

การฟ้องขอให้รับรองบุตร ต่อศาล หากมารดาเด็กให้ความยินยอม ฝ่ายชายก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฝ่ายเดียว และต้องมีผลตรวจ DNA ว่าเป็นพ่อลูกกันนะครับ หรือ ในกรณีที่ ฝ่ายหญิงฟ้องขอให้ฝ่ายชายรับเด็กเป็นบุตร โดยฝ่ายชายไม่ยินยอม ต้องทำเป็นคำฟ้อง และมีพยานหลักฐานให้เชื่อได้ว่าเป็นพ่อของเด็กนะครับ

.......บิดามารดากับบุตร

-เด็กที่เกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี ม.1536 วรรคหนึ่ง

.......การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร

1.ฟ้องเด็กและมารดาเด็กเป็นจำเลยร่วมกัน

2.ถ้ามารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่ จะฟ้องเด็กเป็นจำเลยแต่ผู้เดียวก็ได้

3.แต่ถ้าเด็กไม่มีชีวิตอยู่ ไม่ว่ามารดาจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ ให้ใช้วิธียื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตรก็ได้

.......การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

                   ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก  ให้สันนิฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย ให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

                   ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

                   เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

-กรณีเด็กหรือมารดาเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว บิดามีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้พิพากษาให้จดทะเบียนได้ ฎ.2473/2545

.......การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร

มาตรา 1555 (1)-(7)

(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงหนี่ยวกักขังหญิงมารดา โดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาที่หญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

(2) เมื่อมีการลักพามารดาไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน

(4) เมื่อปรากฎในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตร โดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น

(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย ในระยะเลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้

(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดา ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น

(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร

-กรณีเด็กยังเป็นผู้เยาว์อายุยังไม่ครบ 15 ปี บริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องแทน

-ถ้าไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็ก หรือ อัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้ ม.1556 วรรคหนึ่ง

-ยายของเด็ก ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรเป็นการร้องขอให้ตั้งผู้แทนเแพาะคดีไปในตัว ไม่จำต้องร้องให้ศาลตั้งผู้แทนเแพาะคดีก่อน ฎ.1833/2528

-กรณีเด็กผู้เยาว์มีอายุ 15 ปี บริบูรณ์แล้ว เด็กต้องฟ้องคดีเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ม.1556 วรรคสอง

-กรณีเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว เด็กต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ ม.1556 วรรคสาม ฎ.9574/2551

-กรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว ในขณะถึงแก่ความตายยังมีสิทธิฟ้องคดี ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ม.1556 วรรคสี่

.......สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร

-บุคคลใดจะฟ้องบุพการีของตนในทางแพ่งหรืออาญามิได้ ม.1562

-บิดาต้อง เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3019/2541

-บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม ฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้ ไม่เป็นอุทลุม ฎ.294/2538

-ผู้แทนโดยชอบธรรม ฟ้องแทนบุตร ก็ห้ามเช่นกัน ฎ.904/2506

-การรับมรดกความก็ไม่ได้ ไม่ว่าคดีแพ่งหรืออาญา ฎ.2139/2517

-ผู้บุพการี ร้องสอดเข้ามาเอง ไม่เป็นอุทลุม ฎ.734/2482

-ในกรณีบุตรยื่นคำร้องแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แม้บุพการียื่นคัดค้าน ก็เป็นการกระทำของบุพการีเอง ไม่เป็นอุทลุม ฎ.6181/2533

-ผู้สืบสันดานในฐานะผู้จัดการมรดก หรือ ในฐานะทายาท ฟ้องบุพการีในฐานะผู้จัดการมรดกได้ ไม่เป็นอุทลุม ฎ.1707/2515 ปชญ.,604/2549

-บุตรฟ้องในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท ฟ้องบิดาในฐานะกรรมการของบริษัท ให้ชดใช้เงินแก่บริษัท ไม่ต้องห้าม ฎ.823/2550

-บุตร เป็นผู้รับมอบอำนาจ มิใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัว ไม่เป็นอุทลุม ฎ.6657/2539

-บุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.1409/2548

-บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตร

ผู้ไร้ความสามารถ ผู้อนุบาล

การร้องขอให้บุคคลใด ให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ และแต่งตั้งบุคคลให้เป็นผู้อนุบาล คนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย หมายถึง บุคคลที่มีจิตบกพร่่อง ฟั่นเฟือน หรือ มีกายเจ็บป่วย นอนติดเตียง ไม่รับรู้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ในทางการแพทย์ ต้องมีความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะแสดงเจตนาทำนิติกรรมใดๆ ได้ สามี ภรรยา บิดา มารดา บุตร หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอต่อศาลให้บุคคลนั้น เป็นบุคคลไร้ความสามารถ และแต่งตั้งให้ผู้ร้องนั้น เป็นผู้อนุบาล และต้องนำคำสั่งศาลประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

การยื่นคำร้องต่อศาล ต้องทำเป็นคำร้อง แสดงเอกสารว่าผู้ร้องเกี่ยวข้องกับ ผู้ไร้ความสามารถอย่างไร ผู้นั้นป่วยเป็นอะไร มีใบรับรองแพทย์แนบ และมีหนังสือให้ความยินยอมของทายาท มาประกอบ โดยยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เสียค่าคำร้อง 200 บาท ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท และค่าทนายความ ประมาณ 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับความตกลงกันนะครับ 

การขอทำนิติกรรมแทนผู้ไร้ความสามารถ

ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อนุบาลอาจยื่นคำร้อง อ้างเหตุจำเป็นที่จะต้อง ขาย จำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์ของผู้ไร้ความสามารถ หากศาลเห็นสมควรก็จะอนุญาตให้ทำการ ขาย จำหน่าย จ่าย โอน ซึ่งถือว่าเป็นการทำนิติกรรมแทน ได้

ผู้เยาว์

หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์ กฎหมายจึงให้อยู่ในฐานะผู้เยาว์ ไม่มีความสามารถทำนิติกรรม เว้นแต่การทำนิติกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว ทำได้ แต่นิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องขออนุญาตศาล เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องขออนุญาตศาล และมีเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเก็บรักษาเงินให้ผู้เยาว์แทน นะครับ  

Visitors: 174,468
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ