ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

หุ้นส่วน-บริษัท

 

ลักษณะ 22
หุ้นส่วนและบริษัท

 

หมวดที่ 1
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

 

มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

 มาตรา 1023 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ

           (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
           (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
           (3) บริษัทจำกัด

มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัททั้งหลายนั้น ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับจัดตั้งขึ้น

มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติแห่งลักษณะนี้แล้ว ท่าน จะจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น

มาตรา 1016 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทการแก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนไว้ในภายหลังและการจดทะเบียนอย่างอื่นตามที่ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทกำหนดให้จดทะเบียนให้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงประกาศกำหนด

มาตรา 1017 ถ้าข้อความที่จะจดทะเบียนหรือประกาศโฆษณาเกิดขึ้นในต่างประเทศไซร้ ท่านให้นับกำหนดเวลาสำหรับการจดทะเบียนหรือประกาศโฆษณาข้อความนั้น ตั้งแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวการนั้น มาถึงตำบลที่จดทะเบียนหรือตำบลที่จะประกาศโฆษณานั้นเป็นต้นไป

มาตรา 1018 ในการจดทะเบียนท่านให้เสียค่าธรรมเนียมตามกฎข้อบังคับซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงตั้งไว้

มาตรา 1019 ถ้าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารซึ่งต้องจดทะเบียนไม่มีรายการบริบูรณ์ตามที่บังคับไว้ในลักษณะนี้ ว่าให้จดแจ้งก็ดี หรือถ้ารายการอันใดซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือเอกสารนั้นขัดกับกฎหมายก็ดี หรือถ้าเอกสารใดซึ่งกำหนดไว้ว่าให้ส่งด้วยกันกับคำขอจดทะเบียนยังขาดอยู่มิได้ส่งให้ครบก็ดีหรือถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้ออื่นซึ่งกฎหมายบังคับไว้ก็ดี นายทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียนก็ได้ จนกว่าคำขอจดทะเบียนหรือเอกสารนั้นจะได้ทำให้บริบูรณ์หรือแก้ไขให้ถูกต้องหรือได้ส่งเอกสารซึ่งกำหนดไว้นั้นครบทุกสิ่งอันหรือได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนั้นแล้ว

มาตรา 1020 บุคคลทุกคนเมื่อได้เสียค่าทำเนียมตามที่กำหนดในกระทรวงแล้วชอบที่จะตรวจเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ได้หรือจะขอให้คัดสำเนาหรือเนื้อความในเอกสารฉบับใดๆ พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องมอบให้ก็ได้
            ผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกระทรวงแล้ว ชอบที่จะขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ก็ได้

มาตรา 1020/1 ให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงมีอำนาจออกกฎกระทรวงลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ออกตามมาตรา 1018 และมาตรา 1020

มาตรา 1021 นายทะเบียนทุกคนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ตามแบบซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงจะได้กำหนดให้

มาตรา 1022 เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดังนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียนอันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แกบุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1023 ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดี ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือบริษัทก็ดี จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสารหรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตามลักษณะนี้ยังไม่ได้ จนกว่าจะได้จดทะเบียนแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
             แต่ถึงกว่านั้นก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนจดทะเบียนนั้นย่อมไม่จำต้องคืน
มาตรา 1023/1 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะยกมาตรา 1023 ขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อไม่ให้ต้องรับผิดโดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการมิได้

มาตรา 1024 ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก็ดีหรือในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือของผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆนั้น ย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ

หมวดที่ 2 
ห้างหุ้นส่วนสามัญ


ส่วนที่ 1 
บทวิเคราะห์

มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

ส่วนที่ 2
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง

มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
             สิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

มาตรา 1027 ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน

มาตรา 1028 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้ลงแต่แรงงาน ของตนเข้าเป็นหุ้น และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมิได้ตีราคาค่าแรงไว้ท่านให้คำนวณส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลงแรงงาน เช่นนั้น เสมอด้วยส่วนถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น 

มาตรา 1029 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดี ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยเช่าทรัพย์

มาตรา 1030 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งเป็นการลงทุนด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดี ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดีข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย

มาตรา 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ธันวาต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมาภายในเวลาอันสมควรมิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆจะลงเนื้อเห็นพร้อมกัน หรือโดยเสียงข้างมากด้วยกัน สุดแต่ข้อสัญญาให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้

มาตรา 1032 ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการ นอกจากด้วยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1033 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใดซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้
            ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน

มาตรา 1034 ถ้าได้ตกลงกันไว้มากการงานของห้าง-หุ้น ส่วนนั้นจากให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย

มาตรา 1035 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นก็ได้แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใดจะทำการอันใดซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้

มาตรา 1036 อ่านหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะเอาออกจากตำแหน่งได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกันเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1037 ถึงแม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้ตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนนอกจากผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของหุ้นส่วนที่จัดอยู่นั้นได้ทุกเมื่อ และมีสิทธิ์ที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุด บัญชี และเอกสารใดๆ ของห้างหุ้นส่วนได้ด้วย

มาตรา 1038 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ
             ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรานี้ไซร้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้น แต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืน

มาตรา 1039 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำ ต้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเรียกความระมัดระวังให้มากเสมือนกับจัดการงานของตนเองฉะนั้น

มาตรา 1040 ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1041 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโอนส่วนกำไรของตนในห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ดีหรือแต่บางส่วนก็ดีให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกนั้นจะกลายเป็นเข้าหุ้นส่วนด้วยก็หามิได้

มาตรา 1042 ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน

มาตรา 1043 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนอันมิได้เป็นผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัดการงานของห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้จัดการกระทำล่วงขอบอำนาจของตนก็ดี ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาด้วยจัดการงานนอกสั่ง

มาตรา 1044 อันส่วนกำไรก็ดี ส่วนขาดทุนก็ดี ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น

มาตรา 1045 ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดไว้แต่เพียงข้างฝ่ายกำไร ว่าจะแบ่งเอาเท่าไร หรือกำหนดแต่เพียงข้างขาดทุนว่าจะยอมขาดเท่าไรฉะนี้ไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไรและส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน

มาตรา 1046 ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนหนึ่งคนใดหามีสิทธิจะได้รับบำเหน็จเพื่อที่ ได้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เว้นแต่จะได้มีความตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1047 ถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงใช้เรียกขานติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้

มาตรา 1048 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจากหุ้นส่วนอื่นๆแม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้

ส่วนที่ 3
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก

มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่

มาตรา 1050 การใดๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้นๆด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะได้จัดการไปเช่นนั้น

มาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป

มาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใดๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย

มาตรา 1053 ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น  ถึงแม้จะมีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผลถึงบุคคลภายนอกไม่

มาตรา 1054 บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก๋ดี ด้วยลายลักษณัอักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี  หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน
            ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กองทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใดๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังมรณะนั้นไม่

ส่วนที่ 4
การเลิกและการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดังกล่าวต่อไปนี้
             (1) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น
             (2) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
             (3) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
             (4) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามกำหนสดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1056
             (5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลายหีือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

มาตรา 1056 ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นและผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

มาตรา 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้ คือ
            (1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
            (2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้อีก
            (3) เมื่อมีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้

มาตรา 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา 1057 หรือมาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้
             ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกจำกัดนั้น ท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด

มาตรา 1059 ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่างกำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไป โดยมิได้ชำระบัญชีหรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไมีมีกำหนดการ

มาตรา 1060 ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา 1055 อนุมาตรา 4 หรืออนุมาตรา 5 นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไปไซร้ ท่านว่าสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน

มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย
            ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
            การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่แต่งตั้งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ
            การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1062 การชำระบัญชี ให้ทำโดยลำดับดังนี้ คือ
           (1) ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
           (2) ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
           (3) ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้น
            ถ้ายังมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไร ก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน

มาตรา 1063 ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอกและชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด

ส่วนที่ 5
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1064 อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนก็ได้ การลงทะเบียนนั้น ท่านบังคับให้มีรายการดังนี้ คือ
             (1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
             (2) วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
             (3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง
             (4) ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคน ถ้าหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อ ก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย
             (5) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ในเมื่อได้แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียงบางคน
             (6) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดๆให้ลงไว้ด้วย
             (7) ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน
             ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่นๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้
             การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย
             ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1064/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น
             ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะลาออกจากตำแหน่งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและพิจารณาตั้งผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น
             หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

มาตรา 1064/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1065 ผู้ถือหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มาแม้ในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน

มาตรา 1066 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด
            แต่ข้อห้ามเช่นว่ามานั้น ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นอันมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

มาตรา 1067 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตราก่อนนี้ไซร้ ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเฉพาะเหตุนั้น
            แต่ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นเวลาเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืน
            อนึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ลบล้างสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้น ในอันจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1068 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปี นับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน

มาตรา 1069 นอกจากกรณีทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055 ท่านว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนย่อมเลิกกันเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลาย

มาตรา 1070 เมื่อใดเมื่อห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้

มาตรา 1071 ในกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 1070 นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า
           (1) สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ
           (2) การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยากฉะนี้ไซร้
           ศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้ สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1072 ถ้าหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใดที่เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไรหรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้าห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

ส่วนที่ 6
การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากัน

มาตรา 1073 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้ โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1074 เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดปลงใจจะควบเข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่นั้นสองครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้านไปภายในสามเดือนนับแต่วันบอกกล่าว
            ถ้าไม่มีใครคัดค้านภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น ก็ให้พึงถือว่าไม่มีคัดค้าน
            ถ้ามีคัดค้านไซร้ ท่านมิให้ห้างหุ้นส่วนจัดการควบเข้ากันเว้นแต่จะได้ใช้หนี้ที่เรียกร้องหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว

มาตรา 1075 เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องนำความนั้นไปจดลงทะเบียน ว่าได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่

มาตรา 1076 ห้างหุ้นส่วนใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิทั้งต้องอยู่ในความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น

หมวด 3
ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่งซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
            (1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดตามรับผิด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
            (2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

มาตรา 1078 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน
            การลงทะเบียนนั้น ต้องมีรายการดังต่อไปนี้ คือ
           (1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
           (2) ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนนั้น
           (3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง
           (4) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำนวนเงินซึ่งเขาเหล่านั้นได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน
           (5) ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
           (6) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
           (7) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้นประการใดให้ลงไว้ด้วย
           ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่นๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้
           การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย
          ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง

มาตรา 1078/1 หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น
             ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบ เพื่อนัดประชุมและพิจารณาตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น
             หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

มาตรา 1078/2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1079 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดจำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน

มาตรา 1080 บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ หากมิได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย
            ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นวิธีบังคับในความเกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเอง และความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วน

มาตรา 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขายระคนเป็นชื่อห้าง

มาตรา 1082 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดโโยแสเงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดังว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น
            แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนเช่นนี้ ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน 

มาตรา 1083 การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น ท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นๆ

มาตรา 1084 ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผล

หุ้นส่วน-บริษัท

-ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ฎ.3657/2531

-ต้องตกลงเอาทุนมาเข้าร่วมกัน ทุนจะเป็นทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้

-ต้องทำกิจการร่วมกัน มีส่วนได้เสียร่วมกันในการประกอบกิจการ เมื่อได้กำไรก็แบ่งกัน ขาดทุนก็เฉลี่ยกันออก

-เพื่อประสงค์แบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น -การแบ่งกำไร คือ การแบ่งกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและต้นทุนแล้ว 

 

 

ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

คือ สัญญาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้าหุ้นกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้จากกิจการนั้น ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด 

-ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นห้างที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเข้าเป็นคู่ความในคดีได้ ฎ.3625/2546

-การนำทรัพย์สินมาลงหุ้นในลักษณะนำกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมาลงทุน เช่นนี้ถือว่าทรัพย์สินนั้น ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วนทันที แม้เป็นอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด

-การนำทรัพย์สินลักษณะนำมาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน ไม่ตกเป็นของห้างหุ้นส่วน

การจัดการห้างหุ้นส่วน ถ้ามิได้ตกลงกันไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการได้ทุกคน หรือจะตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งหรือหลายคนจัดการห้างหุ้นส่วนก็ได้ 

-ในกรณีี่มีการตกลงกันให้การจัดการห้างถือตามเสียงข้างมาก ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ลง ม.1034

-แม้ตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีสิทธิจะไต่ถามถึงการงานได้ทุกเมื่อ และมีสิทธิจะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชี เอกสารใดๆ ม.1037

-ห้ามมิให้หุ้นส่วนประกอบกิจการดุจเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ม.1038

-ห้ามมิให้ชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ได้รับความยินยอม ม.1040

-ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ให้บังคับเรื่อง ตัวแทน

-ในการทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มีอำนาจฟ้อง ฎ.1026/2538

-ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันฟ้องคดีได้ แม้บางคนไม่ได้เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกก็ตาม เป็นการฟ้องในฐานะตัวการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1049 ฎ.87/2479

ความรับผิดของหุ้นส่วนในการจัดการห้าง ม.1050

การใดๆ ที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้นๆ และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน

-กิจการที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง ได้แก่

1.กิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน

2.กิจการที่กระทำไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของห้างฯ

ความรับผิดในหนี้ที่เกิดก่อนออกจากหุ้นส่วน ม.1051

ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากห้างหุ้นส่วนไป แม้หนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระภายหลังออกจากห้างฯไปแล้ว ฎ.5949/2534,482/2485

ความรับผิดในหนี้ก่อนเข้าเป็นหุ้นส่วน ม.1052

-ผู้ที่เข้าเป็นหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใดๆซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน

-ผู้ที่แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ม.1054 ใช้กับห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย ฎ.4537/2551

การเลิกห้างและการชำระบัญชี ม.1055-1063 ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันดังต่อไปนี้

1.ตามข้อกำหนดในสัญญา

2.สัญญาที่ทำเฉพาะกำหนดกาลใด เมื่่อสิ้นกำหนดการนั้น

3.สัญญาที่ทำเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น

4.เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ ม.1056

5.เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล

1.ผู้เป็นหุ้นส่วนนอกจากผู้ร้องฟ้องล่วงละเมิดบทบังคับใดๆ อันเป็นสาระสำคัญโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

2.เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น จะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะฟื้นตัวอีก

3.เมื่อมีเหตุใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้

การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ

-เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้วให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะตกลงให้จัดการโดยวิธีอื่น ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หรือศาลพิพากษาให้ห้างนั้นล้มละลาย

-หากยังไม่มีการชำระบัญชี หุ้นส่วนก็ยังไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้แบ่งทรัพย์สินของห้าง ฎ.3885/2546

-หากมีข้อยกเว้นให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่น ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนก็ไม่จำเป็นต้องชำระบัญชี ฎ.1416/2554

-ถ้ากิจการของห้างหุ้นส่วนไม่มีความยุ่งยาก ไม่เกี่ยวพันกับหนี้สินของบุคคลภายนอก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องชำระบัญชี ศาลก็อาจพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินไป โดยไม่ต้องชำระบัญชีก็ได้ ฎ.4245/2551

-ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงแบ่งทรัพย์สินกันได้ ถือว่าเป็นการตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่น เป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชี ฎ.15130/2551

-การฟ้องเรียกค่าเสียหายระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเพราะผิดสัญญา แม้ห้างยังไม่เลิก ก็ฟ้องได้ ฎ.1197/2497

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ม.1064-1072

-หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน มีจำกัด 2 ปี นับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน

-กำหนดเวลาความรับผิดตามมาตรา 1068 มิใช่อายุความ คู่กรณีตกลงให้หุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้ที่มีอยู่ก่อนตนออกจากห้างได้ ฎ.2613/2523

 

 

มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมาตรา 502 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าบุคคลผู้ใดไถ่ ย่อมได้รับคืนไปโดยปลอดจากสิทธิใดๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิมหรือทายาท หรือผู้รับโอนจากผู้ซื้อเดิมก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่        ถ้าว่าเช่าทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างขายฝากอันได้จดทะเบียนเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วไซส์ ท่านว่าการเช่านั้นหากไม่ได้ทำขึ้นเพื่อจะให้เสียหายแก่ผู้ขาย กำหนดเวลาเช่ายังคงมีเหลืออยู่อีกเพียงใด ก็ให้คงเป็นอันสมบูรณ์อยู่เพียงนั้น แต่ไม่ให้เกินกว่าปีหนึ่ง
ส่วนที่ 2ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบมาตรา 503 ในการขายตามตัวอย่างนั้น ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่าง         ในการขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนามาตรา 504 ในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่างหรือไม่ตรงตามคำพรรณนานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบมาตรา 505 อันว่าขายเผื่อชอบนั้น คือการซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อมาตรา 506  การตรวจดูทรัพย์สินนั้นถ้าไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ผู้ขายอาจกำหนดเวลาอันสมควรและบอกกล่าวแก่ผู้ซื้อให้ตอบภายในกำหนดนั้นได้ว่าจะรับซื้อหรือไม่มาตรา 507  ทรัพย์สินอันผู้ซื้อแต่เพิ่งตรวจดูก่อนที่จะส่งมอบแก่กันนั้นถ้าผู้ซื้อไม่ตรวจรับภายในเวลาที่กำหนดไว้โดยสัญญาหรือโดยประเพณีหรือโดยทำบอกกล่าวของผู้ขายท่านว่าผู้ขายย่อมไม่มีความผูกพันต่อไปมาตรา 508  เมื่อทรัพย์สินนั้นได้ส่งมอบแก่ผู้ซื้อเพื่อให้ตรวจดูแล้วการซื้อขายย่อมเป็นอันบริบูรณ์ในกรณีต่อไปนี้ คือ(1) ถ้าผู้ซื้อไม่ได้บอกกล่าวว่าไม่ยอมรับซื้อภายในเวลาที่กำหนดไว้โดยสัญญาหรือโดยประเพณี หรือโดยคำบอกกล่าว หรือ(2) ถ้าผู้ซื้อไม่ส่งทรัพย์สินคืนภายในกำหนดเวลาดั่งกล่าวมานั้น หรือ(3) ถ้าผู้ซื้อใช้ราคาทรัพย์สินนั้นสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน หรือ(4) ถ้าผู้ซื้อจำหน่ายทรัพย์สินนั้นหรือทำประการอื่นอย่างใดอันเป็นปริยายว่ารับซื้อของนั้น
ส่วนที่ 3ขายทอดตลาดมาตรา 509  การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้ หรือด้วยกริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดถ้ายังไม่ได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใด ท่านว่าผู้สู้ราคาจะถอนคำสู้ราคาของตนเสียก็ยังถอนได้มาตรา 510  ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจะต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่นๆซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนประเดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายไปมาตรา 511  ท่านห้ามมิไม่ให้ผู้ทอดตลาดเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนวยการเองมาตรา 512  ท่านห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาเว้นแต่จะได้แถลงไว้โดยเฉพาะในคำโฆษณาบอกการทอดตลาดนั้น ว่าผู้ขายถือสิทธิที่จะเข้าสู้ราคาด้วยมาตรา 513  เมื่อใดผู้ทอดตลาดเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอผู้ทอดตลาดอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้มาตรา 514 ผู้สู้ราคาย่อมพ้นความผูกพันในราคาซึ่งตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไปไม่ว่าการที่ผู้อื่นสู้นั้นจะสมบูรณ์หรือมิสมบูรณ์ประการใด อีกประการหนึ่งเมื่อใดถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการทอดตลาด ผู้สู้ราคาก็พ้นความผูกพันแต่ขณะที่ถอนนั้นดุจกันมาตรา 515  ผู้สู้ราคาสูงสุดต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาบอกขายมาตรา 516  ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่งถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาดมาตรา 517 ถ้าเงินรายได้ในการทอดตลาดส่วนหนึ่งส่วนใดค้างชำระอยู่เพราะเหตุผู้ทอดตลาดละเลยไม่บังคับตามบทในมาตรา 515  หรือมาตรา 516 ไซร้ ท่านว่าผู้ทอดตลาดจะต้องรับผิด


  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ หุ้นที่จำกัดความรับผิด ไม่เกินจำนวนเงินลงหุ้น และหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้าง โดยแต่ละจำพวกอาจมีคนเดียวหรื...

  • บริษัทจำกัด -การตั้งบริษัทเกิดจากบุคคลตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป เรียกว่าผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ -มูลค่าของหุ้นๆหนึ่ง ไม่ให้ต่ำกว่า 5 บาท ม.1117 -การโอนหุ...
Visitors: 174,474
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ