หุ้นส่วน-บริษัท
หุ้นส่วน-บริษัท
-ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ฎ.3657/2531
-ต้องตกลงเอาทุนมาเข้าร่วมกัน ทุนจะเป็นทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้
-ต้องทำกิจการร่วมกัน มีส่วนได้เสียร่วมกันในการประกอบกิจการ เมื่อได้กำไรก็แบ่งกัน ขาดทุนก็เฉลี่ยกันออก
-เพื่อประสงค์แบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น -การแบ่งกำไร คือ การแบ่งกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและต้นทุนแล้ว
....ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ สัญญาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้าหุ้นกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้จากกิจการนั้น ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด
-ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นห้างที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเข้าเป็นคู่ความในคดีได้ ฎ.3625/2546
-การนำทรัพย์สินมาลงหุ้นในลักษณะนำกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมาลงทุน เช่นนี้ถือว่าทรัพย์สินนั้น ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วนทันที แม้เป็นอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด
-การนำทรัพย์สินลักษณะนำมาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน ไม่ตกเป็นของห้างหุ้นส่วน
....การจัดการห้างหุ้นส่วน ถ้ามิได้ตกลงกันไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการได้ทุกคน หรือจะตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งหรือหลายคนจัดการห้างหุ้นส่วนก็ได้
-ในกรณีี่มีการตกลงกันให้การจัดการห้างถือตามเสียงข้างมาก ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ลง ม.1034
-แม้ตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีสิทธิจะไต่ถามถึงการงานได้ทุกเมื่อ และมีสิทธิจะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชี เอกสารใดๆ ม.1037
-ห้ามมิให้หุ้นส่วนประกอบกิจการดุจเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ม.1038
-ห้ามมิให้ชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน เว้นแต่ได้รับความยินยอม ม.1040
-ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ให้บังคับเรื่อง ตัวแทน
-ในการทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มีอำนาจฟ้อง ฎ.1026/2538
-ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันฟ้องคดีได้ แม้บางคนไม่ได้เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกก็ตาม เป็นการฟ้องในฐานะตัวการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1049 ฎ.87/2479
.....ความรับผิดของหุ้นส่วนในการจัดการห้าง ม.1050
การใดๆ ที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้นๆ และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน
-กิจการที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง ได้แก่
1.กิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
2.กิจการที่กระทำไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของห้างฯ
....ความรับผิดในหนี้ที่เกิดก่อนออกจากหุ้นส่วน ม.1051
ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากห้างหุ้นส่วนไป แม้หนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระภายหลังออกจากห้างฯไปแล้ว ฎ.5949/2534,482/2485
...ความรับผิดในหนี้ก่อนเข้าเป็นหุ้นส่วน ม.1052
-ผู้ที่เข้าเป็นหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใดๆซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน
-ผู้ที่แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ม.1054 ใช้กับห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย ฎ.4537/2551
....การเลิกห้างและการชำระบัญชี ม.1055-1063 ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันดังต่อไปนี้
1.ตามข้อกำหนดในสัญญา
2.สัญญาที่ทำเฉพาะกำหนดกาลใด เมื่่อสิ้นกำหนดการนั้น
3.สัญญาที่ทำเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น
4.เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ ม.1056
5.เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
-การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล
1.ผู้เป็นหุ้นส่วนนอกจากผู้ร้องฟ้องล่วงละเมิดบทบังคับใดๆ อันเป็นสาระสำคัญโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
2.เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น จะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะฟื้นตัวอีก
3.เมื่อมีเหตุใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้
.....การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ
-เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้วให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะตกลงให้จัดการโดยวิธีอื่น ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หรือศาลพิพากษาให้ห้างนั้นล้มละลาย
-หากยังไม่มีการชำระบัญชี หุ้นส่วนก็ยังไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้แบ่งทรัพย์สินของห้าง ฎ.3885/2546
-หากมีข้อยกเว้นให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่น ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนก็ไม่จำเป็นต้องชำระบัญชี ฎ.1416/2554
-ถ้ากิจการของห้างหุ้นส่วนไม่มีความยุ่งยาก ไม่เกี่ยวพันกับหนี้สินของบุคคลภายนอก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องชำระบัญชี ศาลก็อาจพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินไป โดยไม่ต้องชำระบัญชีก็ได้ ฎ.4245/2551
-ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงแบ่งทรัพย์สินกันได้ ถือว่าเป็นการตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่น เป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชี ฎ.15130/2551
-การฟ้องเรียกค่าเสียหายระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเพราะผิดสัญญา แม้ห้างยังไม่เลิก ก็ฟ้องได้ ฎ.1197/2497
....การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ม.1064-1072
-หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน มีจำกัด 2 ปี นับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน
-กำหนดเวลาความรับผิดตามมาตรา 1068 มิใช่อายุความ คู่กรณีตกลงให้หุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้ที่มีอยู่ก่อนตนออกจากห้างได้ ฎ.2613/2523
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ หุ้นที่จำกัดความรับผิด ไม่เกินจำนวนเงินลงหุ้น และหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้าง โดยแต่ละจำพวกอาจมีคนเดียวหรื...
- บริษัทจำกัด -การตั้งบริษัทเกิดจากบุคคลตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป เรียกว่าผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ -มูลค่าของหุ้นๆหนึ่ง ไม่ให้ต่ำกว่า 5 บาท ม.1117 -การโอนหุ...