บุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรม
-ผู้ที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และอายุแก่กว่ากันอย่างน้อย 15 ปี ม.1598/19
-การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ม.1598/21 วรรคหนึ่ง
-ในกรณีผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ที่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงจะสมบูรณ์ ฎ.2398/2517,472/2537
-การที่คู่สมรสให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม ไม่ทำให้มีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมไปด้วย ฎ.1922/2534
......การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ม.1598/27
-การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
......ผลของการรับบุตรบุญธรรม
-บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกำหมาย ของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา และบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
-บุตรบุญธรรม ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาเดิมอยู่
-เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ม.1598/37 ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม