การบอกเลิกจ้าง
การบอกเลิกการจ้าง
การที่ นายจ้าง เรียกลูกจ้างไปตักเตือน เรื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อ เป็นกรณีที่ลูกจ้างทำงานผิดระเบียบหน้าที่ และนายจ้างได้ตักเตือนแล้ว ซึ่งเป็นการตักเตือนครั้งแรก นายจ้างจึงไม่อาจนำมาเป็นสาเหตุในการเลิกจ้างได้ ต่อมา นายจ้างพิมพ์ข้อความส่งให้ลูกจ้างว่า “เสียใจด้วยคุณไม่ได้ไปต่อ”ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเข้าใจได้ว่า เป็นการบอกกล่าวเลิกจ้าง โดยที่นายจ้างไม่ได้แสดงเหตุข้อเท็จจริงหรือแจ้งสาเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบจึงทำให้ไม่อาจทราบได้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยสาเหตุใด ต่อมา ภายหลัง นายจ้างจับได้ว่า ลูกจ้าง ลักทรัพย์ ภายหลังที่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างไปแล้ว ก็ยกเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 วรรคสอง นายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
จากนั้น ลูกจ้างยื่นเรื่องร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ลูกจ้างยอมรับว่ากู้เงินไปจากนายจ้างและยินยอมให้นายจ้างหักเงินดังกล่าวได้ แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้หักลบให้นายจ้าง ดังนี้ เมื่อลูกจ้างยินยอมให้หักเงินค่าจ้างดังกล่าวมาชดเชยให้นายจ้าง แต่ พนักงานตรวจแรงงานมิได้นำเงินมาหัก จึงเป็นคำสั่งที่น่าจะไม่ถูกต้อง นายจ้างมีสิทธินำคดีฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือคำสั่ง ส่วนกรณีที่ลูกจ้าง ลักทรัพย์ และกระทำความผิดอาญาอื่น นายจ้างมีสิทธิดำเนินคดีอาญาแยกกันต่างหากต่อไป