ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

ตั๋วเงิน

ตั้๋วเงิน

มี 3 ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค

-ข้อความที่เขียนลงในตั๋วเงินที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในเรื่องตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ก็ไม่มีผลอย่างหนึ่งอย่างใด ฎ.3509/2542

-ตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลัง เป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983(2) ไม่มีผล ฎ.4714/2547

-ข้อความที่เขียนในเช็คว่า เป็นเช็คประกัน เป็นข้อความที่ไม่มีผลใดๆ ฎ.42072554

-ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่า ให้จ่ายดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ไม่มีผลใดๆ ฎ.5258/2554

-การขีดฆ่าข้อความในเช็ค หรือผู้ถือออก ทำให้เช็คนั้นไม่มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าผู้ถือ ไม่สมบูรณ์เป็นเช็ค ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิด ฎ.6305/2548

-บุคคลผู้ลงลายมือชื่อตามตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

-ลายมือชื่อ อาจเป็นการลงชื่อสมมุติ หรือ นามแฝงหรือชื่อเสียงที่ใช้ในทางการค้าก็ได้ ฎ.2417/2536

-กรณี นิติบุคคล การลงลายมือชื่อ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลนั้นๆ ฎ.13466/2555

-ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิด แม้ไม่ใช่เจ้าของบัญชีเช็ค ฎ.1734/2515

-ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แต่ผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคาร ต้องรับผิดตามเช็ค ฎ.1898-1899/2526

-การออกเช็คเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ถ้ายังไม่ได้ชำระหนี้ที่ประกัน ผู้ลงลายมือชื่อในเช็คต้องรับผิดใช้เงินตามเช็ค ฎ.452/2552

-ผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คโดยสมัครใจ โดยไม่มีฐานะใดตามกฎหมาย ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ฎ.4872/2533

-ลง แกงได ลายพิมพ์นิ้วมือ และมีพยาน 2 คน รับรอง ไม่ได้ 

-กรณีนิติบุคคล การลงลายมือชื่อในเช็คในฐานะผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนฯไม่ต้องรับผิดส่วนตัว ฎ.457/2543,9442/2542,6358/2554

-ถ้าผู้สั่งจ่าย เป็นกรรมการคนหนึ่งในบริษัท แต่ไม่ได้ตกลงกับธนาคารให้มีอำนาจสั่งจ่าย ผู้ลงลายมือชื่อนั้นต้องรับผิดส่วนตัว ฎ.6798/2544

-ผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตาย ก่อนเช็คถึงกำหนด สิทธิตามเช็คตกเป็นมรดกแก่ทายาททันที ทายาทเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย และเป็นผู้เสียหาย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ฎ.3619/2543

-ตั๋วผู้ถือ ผู้ถือนับว่าเป็นผู้ทรง

-เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่า หรือผู้ถือ ถือว่า เป็นเช็คผู้ถือ โอนให้กันได้โดยการส่งมอบ ฎ.3764/2554

-ถ้าเช็ค ขีดฆ่า หรือผู้ถือ และเขียนคำว่า สด มีผลทำให้เช็คไม่มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน เป็นเช็คไม่สมบูรณ์ ฎ.6305/2548

-การสั่งจ่ายเช็คผู้ถือชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัท กรรมการของบริษัทไม่ใช่ผู้รับเงินตามเช็ค ฎ.111/2556

-การรับโอนเช็คผู้ถือ ภายหลังจากธนาคารปฎิเสธ ก็ถือว่าเป็นผู้รับโอนเช็ค เป็นผู้ทรงเช็ค ฎ.4383/2545

.....การสลักหลัง มี 2 วิธี คือ สลักหลังเฉพาะ ,สลักหลังลอย

-สลักหลังเฉพาะ คือ ลงลายมือชื่อผู้สลักหลังโดยระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลัง

-สลักหลังลอย คือ การลงลายมือชื่อผู้สลักหลังโดยไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลัง

-การลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โดยไม่กรอกข้อความและจำนวนเงิน ผู้รับเช็คมากรอกภายหลัง ถือว่า เช็คไม่มีคำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน เป็นเช็คไม่สมบูรณ์ ฎ.6658/2548

-ตั๋วแลกเงินหรือเช็คไม่ได้ลงวันที่ ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำการโดยสุจริต จดลงวันที่ถูกต้องแท้จริงลงไปได้ ฎ.2015/2532

-อายุความฟ้องเช็ค 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด 

 -มูลหนี้ตามเช็ค ป.พ.พ.มาตรา 314,900 หนึ่ง,914,989 หนึ่ง

ฎ.1113/2560 มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการที่จำเลยตกลงชำระเงินให้โจทก์ทั้งสองเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของ ช. กรณีจึงต้องถือว่า จำเลยยอมเข้าผูกพันเป็นผู้ชำระหนี้แทน ช. โดยมิได้เป็นการขัดกับเจตนาของคู่กรณีหรือโดยฝืนใจลูกหนี้ ตามปพพ.มาตรา 314 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาต่างตอบแทนดังที่จำเลยฎีกา เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาท จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค แก่โจทก์ ตาม ปพพ.มาตรา 900 วรรคหนึ่ง ,914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง

  -กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อในเช็ค โดยไม่ประทับตราบริษัท

   ฎ.5415/2560 แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ดำเนินการใดๆ ย่อมทำผ่านทางผู้แทนคือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 2 ถือเป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ก็ตามแต่ขณะออกเช็ค จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ประทับตราสะคัญของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่สืบเนื่องจากหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทยและเป็นไปจามเงื่อนไขระหว่างจำเลยที่ 1 เจ้าของเช็ค กับธนาคารตามเช็ค ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และตราสารจัดตั้งที่ได้จดทะเบียนไว้ประกอบกับเรื่องตั๋วเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 900 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค และมาตรา 901 บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คปฎิเสธความรับผิดตามเนืท้อความในเช็คได้ก็ต่อเมื่อกระทำการแทนบุคคลอื่นและเขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่นเท่านั้น ดังนั้น การที่เช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และไม่ได้เขียนข้อความให้เห็นว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามส่วนตัวด้วยและต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามเนื้อความในเช็คชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

 

 

 

Visitors: 181,780
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ