ผู้จัดการมรดก
-ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้ามรดกตายทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร"
1.ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม
2.ผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล ม.1711
-การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุจำเป็นตามมาตรา 1713 (1)(2)หรือ(3) ถ้าไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว ก็ไม่จำต้องตั้งผู้จัดการมรดก
-การตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ศาลอาจตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ แม้เดิมศาลตั้งคนเดียว ต่อมาเห็นว่าไม่เป็นธรรม ศาลอาจตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มอีกได้
-ศาลย่อมใช้ดุลยพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แห่งกองมรดก แม้ผู้ร้องจะไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามมาตรา 1718 ก็ตาม แต่ถ้าปรากฎว่า ผู้ร้องมีความขัดแย้งกับทายาทอื่น การเป็นผู้จัดการมรดกอาจเกิดความเสียหายได้ ศาลจะไม่ตั้งให้เป็นก็ได้ แม้จะไม่มีผู้คัดค้าน ศาลก็ยกคำร้องได้
. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ม.1713 ได้แก่
1.ทายาท
2.ผู้มีส่วนได้เสีย
3.พนักงานอัยการ
การจัดการมรดกกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคน
-ผู้จัดการมรดกต้องจัดการร่วมกัน เว้นแต่ ผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ ผู้จัดการมรดกที่เหลือจัดการร่วมกันต่อไปได้
-ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลตาย ต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และพิจารณามีคำสั่งใหม่ จึงจะจัดการต่อไปได้
-ศาลมีคำสั่งตั้งร่วมกัน ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตาม ม.1726 โดยเอาการกระทำเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
คุณสมบัติต้องห้ามของผู้จัดการมรดก ม.1718
1.ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภวะ
2.บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
3.บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย
-นิติบุคคลที่เป็นผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมก็เป็นผู้จัดการมรดกได้
-พินัยกรรมระบุสถานสงเคราะห์มิได้เป็นนิติบุคคล ถือว่าแต่งตั้งบุคคลธรรมดา คือ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์นั้น
-คนต่างด้าวก็เป็นผู้จัดการมรดกได้
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ม.1716,1719
-เริ่มแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
-ทายาทฟ้องเรียกคืนได้โดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1336
-ผู้จัดการมรดก กับ ทายาท ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ กรณีแบ่งมรดก
-ฎ.431/2560 โจทก์ผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์จึงมีหน้าที่และอำนาจในการจัดการมรดก ตามที่ ป.พ.พ.บรรพ 6 ลักษณะ 4 บัญญัติไว้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สามารถจัดการมรดกในส่วนที่ดินมีโฉนดได้เพราะทายาทไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกันในการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกแม้จะเป็นจริงดังโจทก์กล่าวอ้างโจทก์ก็มีอำนาจและจัดการมรดกไปได้โดยไม่ต้องจัดประชุม เพราะอาจมีทายาทไม่เห็นด้วยไม่เข้าประชุมอันจะทำให้การจัดการมรดกติดขัดหรือหยุดชะงักลงได้ทำให้เสียหายกับการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าทายาทไม่เข้าร่วมประชุม ยังไม่อาจรับฟังถึงขนาดว่าทายาททั้งห้าซึ่งเป็นทายาทร่วมกับโจทก์ ขัดขวางหรือโต้แย้งสิทธิในการทำหน้าเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์จนไม่สามารถจัดการมรดกได้ โจทก์ไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ความรับผิดของผู้จัดการมรดก ม.1720
-ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่แทนทายาท ต้องนำบทบัญญัติในเรื่องตัวแทนมาใช้บังคับ การที่ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความ ตามมาตรา 1754 มายันทายาทไม่ได้
-ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ ม.1722
-ทายาทต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก ม.1724
-ฎ.432/2560 ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องสอดทั้งสามที่ได้รับการยกให้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฉะนั้น จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นส3.ก และจดทะเบียนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง แล้วโอนขายต่อไปยัง อ. ตั้งแต่ปี 2544 ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป ผู้ร้องสอดแม้จะเป็นทายาทก็ไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินพิพาทแล้ว เพราะย่อมต้องมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้กระทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1724 วรรคหนึ่ง
การขอถอนผู้จัดการมรดก ม.1727
-ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกได้ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือ เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร และต้องยื่นก่อนการปันผลมรดกเสร็จสิ้นลง
-ต้องร้องขอถอดถอนก่อนที่การปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น ฎ.13399/2556
หน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ม.1728-1731
-ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้ารู้ถึงการแต่งตั้งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1716 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
-ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
อายุความการจัดการมรดก ม.1733 วรรคสอง
-คดีจัดการมรดก (เป็นคดีที่ฟ้องผู้จัดการมรดกว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ) นั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลง
-คดีฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาท ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก แต่เป็นคดีมรดก มีอายุความ 1 ปี
-คดีที่ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดก อาจจะเป็นคดีมรดกหรือคดีจัดการมรดกก็ได้ ไม่ใช่เป็นคดีจัดการมรดกเสมอไป
การจัดการมรดกถือว่าเสร็จสิ้นเมื่อใด
-ถ้าผู้จัดการมรดกได้รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท เมื่อยังไม่ได้แบ่งให้ทายาท การจัดการมรดกก็ยังไม่เสร็จสิ้น อายุความก็ยังไม่เริ่มนับ ฎ.5265/2539
การแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท ม.1750
1.ทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด
2.โดยขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายมาแบ่งกันระหว่างทายาท
3.โดยทำสัญญามีหลักฐนเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด (ทำเป็นสัญญาหรือหนังสือ)
อายุความมรดก อายุความตามมาตรา 1754
(1) กรณีทายาทโดยธรรมฟ้องเรียกทรัพย์มรดก จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เรียกว่า เป็นการฟ้องคดีมรดก
(2) กรณีผูู้รับพินัยกรรมฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมรู้หรือควรได้รู้ ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
(3) กรณีเจ้าหนี้ของเจ้ามรดกฟ้องเรียกหนี้ ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นยาวกว่า 1 ปี เจ้าหนี้ต้องฟ้องภายใน 1 ปี
มรดก คืออะไรบ้าง
-การยักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดก ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉล หรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลย แต่ถ้ายักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ก็ถูกกำจัดเฉพาะส่วนที่ตนได้ยักย้ายหรือปิดปังไว้นั้น
-ผู้สืบสิทธิของทายาท ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
-การยื่นคำร้องครอบครองปรปักษ์มรดก อันเป็นเท็จ ถือว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก (ฎ.478/2539)
-การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ระบุชื่อทายาทให้ครบถ้วน ไม่ได้ระบุทรัพย์มรดกทั้งหมด ไม่ถือว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก (ฎ.13505/2553)
-การที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกไปขอรับโอนมรดกเป็นของตนเอง เพียงผู้เดียว โดยไม่มีการโอนทรัพย์มรดกต่อไป ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดปังมรดกโดยฉ้อฉล แต่ ถ้ามีการโอนต่อไปให้บุคคลอื่น เป็นการยักย้ายมรดกแล้ว (ฎ.3901/2554)
-การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอรับโอนมรดกโดยไม่แจ้งว่ามีทายาทอื่นอีก หรือ ไม่แจ้งให้ทายาทอื่นทราบ ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดก (ฎ.3250/2537)
-การขอออกโฉนดที่ดินมรดกโดยเปิดเผยและโอนทรัพย์มรดกให้บุตร โดยเข้าใจว่าเป็นสิทธิของตน ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก (ฎ.7203/2544)
-การที่ทายาทแจ้งแก่ทายาทอื่นว่า ผู้ตายได้โอนทรัพย์มรดกไปแล้วตอนมีชีวิตอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริง แล้วโอนมรดกเป็นของตนเอง เช่นนี้ เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก (ฎ.2062/2492)
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร
1.ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
2.ผู้ที่ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
3.ผู้ที่รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าตายโดยเจตนา แต่มิได้ร้องเรียนเพื่อเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ เว้นแต่ผู้นั้นอายุไม่ครบ 16 ปีบริบูรณ์ หรือผู้วิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยา หรือบุพการี หรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
4.ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือ เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น
5.ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
เจ้ามรดกอาจถอนข้อจำกัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรได้ โดยให้อภัยเป็นลายลักษณ์อักษร
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกได้ (มาตรา 1607)
การสืบมรดก กับ การรับมรดกแทนที่ กรณีทายาทถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดเข้ารับมรดกแทนที่ทายาทที่ถูกกำจัดได้ตามมาตรา 1639 สังเกตว่า ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ได้เฉพาะกรณีทายาทถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น กรณีที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังจากเจ้ามรดกตายจึงไม่อาจรับมรดกแทนที่ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถูกกำจัดเข้าสืบมรดกต่อไปได้เสมือนหนึ่งทายาทนั้นตายแล้ว ตามมาตรา 1607 (ฎ.478/2539)
พระภิกษุเป็นทายาท และพระภิกษุเป็นเจ้ามรดก
-พระภิกษุจะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะสึกจากสมณเพศ แต่เป็นผู้รับพินัยกรรมได้
-กรณีทายาทรับมรดกร่วมกันมาแล้ว แต่ยังไม่แบ่งแยกการครอบครอง ถือว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดกอีกต่อไป แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวม ดังนั้น พระภิกษุ มีสิทธิฟ้องเรียกแบ่งในฐานะเจ้าของรวมได้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก (ฎ.470/2535)
-ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้รับมาจากเจ้ามรดกขณะเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ไม่เป็นทรัพย์มรดก พระภิกษุฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์นั้นได้ ไม่ใช่การฟ้องแบ่งมรดก (ฎ.5587/2543)
......ทรัพย์มรดกของพระภิกษุ = ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างสมณเพศ เมื่อพระภิกษุผู้นั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุนั้นได้จำหน่ายไปในขณะมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
บุตรนอกกฎหมาย และบุตรบุญธรรม
-บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิรับมรดกได้ แต่บิดา นอกกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย ของบุตรบุญธรรมด้วย เช่นกัน
-พฤติกาณ์ที่ถือได้ว่า รับรองบุตรแล้ว เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ใช้นามสกุล ให้การอุปการะเลี้ยงดู ลงทะเบียนบ้านว่าเป็นบุตร บิดาไปแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตร บิดายอมให้บุตรเรียกว่าบิดา
-การรับรองจะรับรองในขณะที่บุตรอยู่ในครรภ์ก็ได้ เช่น การจัดงานเลี้ยงฉลอง
-บุตรนอกกฎหมาย ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตาย
-บุตรนอกกฎหมาย มีหน้าที่จัดการศพ ค่าปลงศพ นั้นมีสิทธิเรียกเอาจากผู้กระทำละเมิดได้ และค่าสินไหมทดแทนอื่นอันเกิดจากการละเมิด เป็นสิทธิของเจ้ามรดก ตกทอดแก่ทายาท บุตรนอกกฎหมายเรียกได้เช่นกัน
-บุตรบุญธรรม จะรับมรดกแทนที่ ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ได้
การรับมรดกแทนที่ คือ กรณีทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 1,3,4,6 ตายก่อนเจ้ามรดก หรือ ถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้
-ภริยา ไม่มีสิทธิ รับมรดกแทนที่สามี
-ผู้สืบสันดาน ต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงเท่านั้น คือ สายโลหิตแท้จริง ไม่ใช่บุตรบุญธรรม
ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ
ได้แก่ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ ถ้าไม่มี ได้แก่บุคคลที่ได้รับทรัพย์มรดกมากที่สุด
-วัดซึ่งพระภิกษุมรณภาพ แม้จะได้รับทรัพย์มรดก ก็ไม่มีอำนาจหน้าที่จัดการศพเจ้ามรดก (ฎ.348/2527)