ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

พินัยกรรม

พินัยกรรม 

พินัยกรรม ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะประเภทที่พบและนิยมกันจัดทำขึ้นมาก นะครับ กล่าวคือ

1.พินัยกรรมฝ่ายเมือง คือ พินัยกรรมที่ อำเภอ หรือ สำนักงานเขต เป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อบริการประชาชนทั่วไป

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ คือ ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเอง และลงลายมือชื่อไว้

3.พินัยกรรมแบบจัดทำขึ้น คือ บุคคลอื่นหรือว่าจ้างทนายความให้จัดทำขึ้นแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อ และมีพยานรับรอง ส่วนใหญ่จะให้ทนายความจัดทำขึ้นในรูปแบบนี้ และจะมอบให้ทนายความเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ด้วย 

การทำพินัยกรรมที่ปลอดภัย เช่น การถ่ายวิดีโอ เนื้อหาในวีดีโอนั้น ต้อง เป็นการบันทึกขั้นตอนการทำพินัยกรรม โดยมีแพทย์ ลงชื่อในพินัยกรรมเพื่อรับรองสติสัมปะชัญญะของผู้ทำพินัยกรรมว่าเป็นปกติ ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมเขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเอง ด้านข้าง ๆ ก็มีทนายความปรากฏตัวอยู่เพื่อดูแลให้เนื้อหาในพินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อมีการเปิดเผยเทปวีดีโอม้วนนี้ ย่อมทำให้ข้อโต้แย้งที่กำลังจะโต้แย้งว่า ไม่ใช่ลายมือของผู้ทำพินัยกรรม ไม่อาจโต้แย้งได้สำเร็จ หรือแม้จะยกข้อโต้แย้งว่า ผู้ทำพินัยกรรมลงายมือชื่อโดยไม่มีสติก็ไม่ได้ เพราะมีแพทย์รับรองสติสัมปะชัญญะแล้ววิธีการที่ยกมาข้างต้นนี้ ก็ดูจะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่จะทำให้พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดพ้นจากการโต้แย้งความสมบูรณ์ได้ อันจะทำให้มรดกตกทอดไปยังบุคคลที่เจ้ามรดกต้องการได้อย่างสมเจตนา 

พินัยกรรม

-สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ 

-เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสิทธิตามคำพิพากษา และสิทธิในการฟ้อง จึงเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน สามารถทำพินัยกรรมได้

-เจ้ามรดก ทำพินัยกรรมกำหนด การต่างๆ ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินได้ เช่น อุทิศศพ ให้กับคณะแพทย์

-ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ (พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม โดยไม่ได้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วย ใช้บังคับได้ ฎ.40/2539)

-ผู้รับทรัพย์มรดก เซ็นต์ชื่อในฐานะ เป็นผู้รับมรดกได้ (ฎ.52/2503)

-ทำพินัยกรรมยกให้วัด เจ้าอาวาสลงชื่อเป็นพยานได้ เพราะวัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากเจ้าอาวาส (ฎ.1233/2505)

แบบพินัยกรรม มี 5 แบบ

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะทำพินัยกรรม และลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานต้องลงชื่อรับรองในขณะนั้น

-การขูด ลบ ตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องปฎิบัติตามแบบจึงจะสมบูรณ์ 

2.พินัยกรรมแบบเขียนเอง ต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน

-การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมต้องทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อำกกับไว้จึงจะสมบูรณ์  (ไม่ต้องมีพยานก็ได้)

3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ต้องไปแจ้งข้อความกับผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน

-การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรมการอำเภอต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้จึงจะสมบูรณ์

-พยาน ต้องอยู่ต่อหน้า ได้เห็น ได้ยิน ข้อความด้วย จึงจะสมบูรณ์ (ฎ.8045/2544)

-พยาน 2 คน ไม่รวมกรมการอำเภอ (ฎ.359/2521)

-กรมการอำเภอ จดข้อความตาม (2) จะมอบหมายให้ผู้อื่นจดข้อความแทนก็ได้ (ฎ.912/2522)

4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ = ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม และต้องผนึกพินัยกรรม และลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก และนำไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอย่างน้อย 2 คน การขูดลบ ตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้จึงจะสมบูรณ์

5.พินัยกรรมแบบด้วยวาจา

บุคคลผู้เป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้

1.ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

2.บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

3.บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอด ทั้งสองข้าง

การเพิกถอนพินัยกรรม

เพิกถอนโดยผู้ทำพินัยกรรมเอง
-ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และเวลาใดก็ได้  และเพิกถอนได้หลายวิธี
1.ทำขึ้นใหม่เพิกถอนฉบับเดิม
2.ทำลายหรือขีดฆ่าด้วยความตั้งใจ 
3.โอนทรัพย์สินไปโดยสมบูรณ์
4.ทำลายทรัพย์สินในพินัยกรรม
การตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม
1.เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
2.เมื่อข้อกำหนดใช้ไม่ได้เมื่อเงื่อนไขอย่างใดสำเร็จลงและผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อน หรือปรากฎว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้
3.เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
4.เมื่อทรัพย์ทั้งหมดที่ยกให้สูญหายหรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรม
ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม
-พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้น เป็นโมฆะ
-คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ พินัยกรรมที่ทำขึ้น สมบูรณ์ แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเวลาที่ทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำจริตวิกลอยู่ พินัยกรรม เสียเปล่า
-คนเสมือนไร้ความสามารถ ถ้ามิใช่การอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 34 พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน
-ผู้เยาว์ อายุ 15 ปี บริบูรณ์ พินัยกรรมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม 
พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ
1.ผู้ทำพินัยกรรมมีอายุไม่ครบ 15 ปร บริบูรณ์ (ม.1703)
2.บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเป็นผู้ทำพินัยกรรม เป็นโมฆะ
3.พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมขัดต่อมาตรา 1652,1653,1656,1657,1658,1660,1661,1663
4.ถ้าตั้งผู้รับพินัยกรรมไว้ โดยมีเงื่อนไข ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินของเขาเองโดยพินัยกรรมให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมหรือแก่บุคคลภายนอก ม.1706(1)
5.ถ้ากำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจที่จะทราบตัวแน่นอนได้เป็นผู้รับพินัยกรรม
6.ถ้ามรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้หรือถ้าให้บุคคลใดคนหนึ่งกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ ม.1706(3)
ารขอเพิกถอนพินัยกรรมที่เกิดจากสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉล
-เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลได้
อายุความฟ้องเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม ม.1710
-ต้องฟ้องภายในกำหนด 3 เดือน 
Visitors: 181,779
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ