ภาระจำยอม
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็น ขอจดทะเบียนภาระจำยอม
ที่ดินเรา ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ
ตามกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 1349 นั้น มีหลักอยู่ว่า ที่ดินแปลงใด มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ จนไม่มีทางออกถึง ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดิน จะผ่าน ที่ดินที่ล้อมอยู่นั้น ก็ได้
ทางจำเป็น เป็นการให้สิทธิเจ้าของที่ดิน รวมทั้งคนในครอบครัว และบริวาร สามารถผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ได้ การได้สิทธิทางจำเป็นไม่จำต้องมีนิติกรรมสัญญาระหว่างกัน เพราะเป็นการได้สิทธิตามกฎหมาย หากพื่นที่มีลักษณะไม่เป็นทางโดยสภาพ ก็ต้องปรับหรือสร้างให้เป็นทางขึ้นมานะครับ การทำทางผ่านที่ดิน การถมดิน ลูกลัง เทคอนกรีต ที่ล้อมอยู่ ต้องทำพอสมควร และจำเป็นแก่ผู้ผ่าน และให้ที่ดินล้อมอยู่เสียหายน้อยที่สุด อาจทำถนนเพื่อใช้ยานพาหนะรถยนต์ผ่านก็ได้ และต้องพิจารณาในทางที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุด แต่ผู้ขอใช้ทางจะต้องเสียค่าทดแทน การใช้ทางจำเป็น จะตกลงกันเป็นรายปี หรือ ก้อนเดียวก็ได้ ส่วนความกว้าง และความยาว ของทางจำเป็น กว้าง 4 เมตร ยาวถึงทางสาธารณะ รึแล้วแต่ว่าจะนำสืบถึงความกว้างที่จำเป็น
การพิจาณาประเด็นของศาล จะพิจารณาจาก ทางที่ฟ้องเป็นทางจำเป็นหรือไม่ กว้าง ยาว เพียงใด และค่าทดแทนมีเพียงใด
ภาระจำยอม
ในที่นี้จะกล่าวถึง การฟ้องให้เจ้าของที่ดิน อีก แปลง หนึ่งให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอม ให้กับที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เนื่องจาก ตนนั้นได้ใช้ทางในที่ดินดังกล่าว ใช้เป็น ทางเดิน ทางรถยนต์ โดยสงบ เปิดเผย เกิน10 ปี เป็นกรณีได้ทางภาระจำยอมโดยอายุความ 10 ปี แล้ว เจ้าของที่ดินไม่ได้คัดค้าน ดังนี้ เราก็สามารถฟ้องขอให้เจ้าของที่ดินนั้นไปดำเนินการจดทะเบียนให้เป็นทางภาระจำยอม ส่วนความกว้าง ยาว ก็อยู่ที่สภาพของทาง ความเหมาะสมในการใช้ทาง ก็ประมาณ 3-6 เมตร และไม่ต้องเสียค่าทดแทน เหมือนทางจำเป็น
ทางจำเป็น นั้น เป็นกรณีที่ สภาพทาง ยังไม่เกิดเป็นทาง แต่เจ้าของที่ดินไม่มีทางออก แล้วขอเปิดทางออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่ภาระจำยอม เป็นกรณีที่มีทางอยู่แล้ว และได้ใช้ทางนั้นมาแล้ว โดยเจ้าของทางยินยอม ไม่คัดค้าน เกิน 10 ปี จึงได้ทางภาระจำยอมโดยอายุความ 10 ปี แล้ว จึงต้องไปจดทะเบียนครับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมาลกฎหมายที่ดิน