ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

เช็ค

เช็ค 

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 

http://web.krisdika.go.th/lawHeadContent.jsp?fromPage=lawHeadContent&formatFile=htm&hID= 

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    (1)  เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

    (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

    (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

    (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

    (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

    เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 5 ความผิดตามมาตรา 4 เป็นความผิดอันยอมความได้

มาตรา 6 การควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง แต่ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล สั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน แต่ไม่มีหลักประกัน หรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเิงนตามเช็ค

มาตรา 7 ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 8 ถ้าจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับหรือหลายฉบับรวมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งได้ การฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คนั้นจะรวมฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาฎีกาย่อ กรณีไม่เป็นความผิด

-ออกเช็คแลกเงินสด ฎ.1518/2535 

-ขายลดเช็ค มีสัญญาขายลด ฎ.378/2536

-ขอยืมเงินแล้วออกเช็คให้ไว้ ฎ.2834/2535

-ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งการกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐาน ฎ.1519/2535,5326/2550

-ขณะออกเช็คยังไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ แม้ภายหลังจะมีการทำขึ้น ก็ไม่อาจบังคับได้ ฎ.463/2552

-ออกเช็คชำระหนี้ซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ กว่า 20,000 บาท ขึ้นไปไม่มีหลักฐาน ฎ.1795/2544

-เช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน ฎ.186/2535,-นำเช็คเข้าบัญชีก่อนกำหนด ฎ.1261/2526

-ในวันสั่งจ่ายเงิน มีเงินพอจ่าย แต่กลับนำเช็คไปขึ้นเงินวันหลัง ฎ.1875/2527

-ออกเช็คไม่ลงวันที่ ฎ.89-90/2513,7152/2554

-ออกเช็คไม่ลงวันที่ แม้จะตกลงกัน ลงวัน ก็ไม่ผิดตาม พรบ.เช็ค ฎ.8/2536

-ออกเช็คชำระหนี้การพนัน ฎ.2041/2533

-ออกเช็คโดยมีมูลหนี้จากเงินค่าขายสลากกินรวบ ฎ.166/2523

-ออกเช็ครวมดอกเบี้ยเกินอัตรา  ฎ.7633/2550

-เช็คไม่มีมูลหนี้ หรือมูลหนี้ตามเช็คเป็นโมฆะ ฎ.361/2553

-ออกเช็คเพื่อประกันหนี้ ฎ.12007/2553

-ออกเช็ค โดยผู้ทรงทราบถึงฐานะการเงินว่าไม่มีความสามารถชำระเงินตามเช็คได้ ฎ.1213/2545

-ห้ามธนาคารออกเช็คโดยสุจริต ฎ.5987/2539

-แก้วันที่สั่งจ่ายเช็คโดยผู้ออกเช็คไม่ได้ยินยอม ฎ.3748/2532

-เช็คไม่สมบูรณ์ขาดรายการตามที่กฎหมายบังคับ ฎ.1295/2546                                                                                                                                                                                                 

 คำพิพากษาฎีกา กรณีเป็นความผิด

-ออกเช็คไม่ระบุชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินและขีดคำว่าหรือผู้ถืออก ฎ.3167/2531

-ออกเช็คโดยไม่ประทับตราตามที่ตกลงกับธนาคาร ฎ.263/2504

-ออกเช็คโดยเซ็นชื่อและนามสกุลไม่ตรงกับตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ฎ.796/2525

-ออกเช็คโดยใช้เช็คของผู้อื่นและลงชื่อผู้อื่นเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค ฎ.1983/2514

-ผู้ออกเช็คไม่จำต้องเป็นเจ้าของบัญชี ฎ.6230/2544

-ออกเช็คโดยในขณะที่ออกบัญชีปิดแล้ว ฎ.1017/2507,2429/2527

-มอบให้ผู้อื่นเขียนชื่อตนเองในช่องผู้สั่งจ่าย ฎ.4206/2530

-ออกเช็คใหม่แทนฉบับเดิม ฎ.2567/2535

-ผู้ออกเช็คมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา จึงมีมูลหนี้ผูกพันกันตามกฎหมาย แม้ต่อมาสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วระงับไป ฎ.284-285/2553

-ออกเช็คโดยยินยอมให้ภริยากรอกวันเดือนปี จำนวนเงิน ฎ.5723-5724/2531

-ผู้รับโอนจะนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ทำให้ผู้ออกเช็คพ้นความผิด ฎ.460/2537

-สั่งจ่ายเช็ค โดยลงวันที่สั่งจ่าย ตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน ถือว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ฎ.7545/2538,540/2539,6888/2550

-ออกเช็คชำระหนี้ค่ามัดจำ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ฎ.1298/2539

-ออกเช็คและธนาคารตามเช็คปฎิเสธการจ่ายเงินก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฎ.9546/2539

-ออกเช็คเพื่อแลกเปลี่ยนเช็คฉบับเดิม ที่เป็นเช็คแลกเงินสด ซึ่งธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน เช็คที่ออกในภายหลังนี้ ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ฎ.2921/2540,1847-1848/2541,6175/2541

-ออกเช็คตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้สัญญากู้ยืมเงินจะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ฎ.8979-8980/2554

-ออกเช็คค่าสินค้าที่คิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ฎ.7633/2550

-ผู้ออกเช็คไม่จำเป็นต้องเขียนรายการในเช็คด้วยตนเอง ฎ.5645/2544,519/2546

-หากจำเลยเป็นนายทหารประจำการ ต้องฟ้องคดีต่อศาลทหาร เพราะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

-คดีเช็ค เกี่ยวข้องกับ คดีฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ ปลอมเอกสาร ฉ้อโกง เอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นทำให้เสียหายและไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสาร รับของโจร ยักยอก

 

Visitors: 181,778
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ