ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

จัดการสินสมรส

สามีภริยาขอใส่ชื่อร่วมในสินสมรส

ทรัพย์สิน ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สัตว์พาหนะ เรือ แพ หรือทรัพย์สินที่มีเอกสารเป็นสำคัญ โฉนดที่ดิน บัญชีเงินฝาก กรรมสิทธิ์ห้องชุด คู่สมรสมีสิทธิขอลงชื่อร่วมในเอกสารนั้นได้ ม.1475

-ทะเบียนรถยนต์  ไม่ใช่เอกสารสำคัญ จึงร้องขอให้ใส่ชื่อร่วมไม่ได้ ฎ.2270/2521

-น.ส.3 เป็นเอกสารสำคัญ คู่สมรสร้องขอให้ลงชื่อร่วมได้ ฎ.2139/2538

-ใบไต่สวน ไม่ใช่เอกสารสำคัญ ฎ.1690/2505

การจัดการสินสมรส

สามีภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน บางเรื่องเท่านั้น ตามมาตรา 1476(1)-(8)

1.ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอัสหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 

2.ก่อตั้งหรือทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

3.ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี

4.ให้กู้ยืมเงิน 

5.ให้โดยเสน่ห์หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

6.ประนีประนอมยอมความ (ต้องเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ ฎ.2910/2531)

7.มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

8.นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

-การค้ำประกัน ไม่ใช่เป็นการประกันด้วยทรัพย์ ไม่ต้องได้รับความยินยอม

***การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

-การให้ความยินยอม อาจให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือให้ความยินยอมล่วงหน้าตลอดไป ฎ.3186/2538

-การฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอม ฎ.4003/2552

***แต่ถ้าจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสินสมรส ต้องได้รับความยินยอม 

......การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ฝ่าฝืนมาตรา 1476

-ถ้าอีกฝ่ายให้สัตยาบัน หรือขณะทำนิติกรรม บุคคลภายนอกกระทำโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ฟ้องไม่ได้

-ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม

-ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอน นิติกรรมนั้นยังคงมีผลบังคับกันตามกฎหมาย ฎ.10366/2553

...........การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวหรือแยกสินสมรส

1.จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด

2.ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง

3.มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส

4.ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

5.มีพฤติการณ์ปรากฎว่าจะทำความเสียหายให้แก่สินสมรส

อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรสได้

Visitors: 182,800
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ