สินสอด ของหมั้น
การหมั้น.สินสอด,สมรส
-ชายและหญิงจะทำการหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์ (ม.1435) หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1435 วรรคสอง)
-การหมั้น ฝ่ายชายต้องได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นให้แก่หญิง (การหมั้นเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ)
-การหมั้นเป็นสัญญาจะสมรส หมายถึงการสมรสกันตามกฎหมาย คือต้องจดทะเบียนสมรส ถ้่ไม่มีเจตนาไปจดทะเบียนสมรส เพียงแต่แต่งงานกันตามประเพณี ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิงก็ไม่ใช่ของหมั้น หากชายหญิงเลิกรากันฝ่ายชายก็จะเรียกทรัพย์สินดังกล่าวคืนไม่ได้ ฎ.3557/2525,1117/2535
-ถ้าสัญญาหมั้นตกเป็นโมฆะ ต้องคืนของหมั้นหรือสินสอด ว่าด้วยลาภมิควรได้ ถ้าฝ่ายชายไม่ทราบว่าหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ เรียกคืนได้ ถ้าทราบเรียกคืนไม่ได้ เพราะชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย
-กรณีเป็นผู้เยาว์ การหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา (1)บิดาและมารดา ในกรณีที่ผู้เยาว์มีทั้งบิดามารดา เพราะบิดาและมารดาทั้งสองคนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง บุตรผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองคน (2) บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว กรณีที่บิดาหรือมารดาอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่จะให้ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้ ผู้เยาว์ก็มีสิทธิทำการหมั้น โดยได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวนั้นได้ ตามมาตรา 1566 วรรคสอง เช่น ถูกสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน วิกลจริต เจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่า พฤติการณ์ไม่อาจขอความยินยอมได้ เช่น ไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ที่ใด ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว หรือเดินทางไปต่างประเทศไม่ยอมส่งข่าวคราว (3)ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอม บิดามารดาโดยกำเนิดไม่มีสิทธิแล้ว (4)ผู้ปกครอง ในกรณีผู้เยาว์มีผู้ปกครอง บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองแล้วไม่มีสิทธิให้ความยินยอม (5) กรณีบิดามารดาไม่จดทะเบียนสมรส ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม คือ มารดาผู้เดียวเท่านั้น
-การหมั้น ของผู้เยาว์ โดยปราศจากความยินยอม ตกเป็น โมฆียะ
-ผู้เยาว์ บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ก่อนอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ หากต่อมาขาดจากการสมรสและอายุไม่ครบ 17 ปี ก็ต้องได้รับความยินยอม
-การให้ความยินยอม กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบพิธีไว้ จึงกระทำด้วยวาจา หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้
-ผู้เยาว์ จะขออนุญาตศาลให้ทำการหมั้น เหมือนกับ ขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสไม่ได้
-เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้น ตกแก่หญิง
ของหมั้น
-ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วย
-แก้ว แหวน เงินทอง
-สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรส โดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดให้นำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
-สัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินให้ในอนาคต หรือ ทำสัญญากู้เงินให้ไว้ ไม่ใช่ของหมั้น ฝ่ายหญิงจะฟ้องเรียกทรัพย์นั้นหรือเงินกู้นั้นไม่ได้ ฎ.1852/2506
-การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ม.1438
.......การเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
1.ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียงของชายหรือหญิง
2.ทดแทนความเสียหายเนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
3.ทดแทนความเสียหายจากการจัดการทรัพย์สินหรือการทำมาหาได้เนื่องจากการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส ม.1440
......ผู้มีสิทธิเรียกค่าทดแทน
-ได้แก่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง
......พฤติการณ์ที่ถือว่าผิดสัญญาหมั้น
-จัดพิธีหมั้นแล้ว อีกฝ่ายไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ฎ4905/2543
-ขอถอนการหมั้น ถือว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น ฎ.6305/2556
-การที่ชายหญิงอยู่กินด้วยกันหลังหมั้น ย่อมเกิดความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของหญิง หญิงเรียกค่าทดแทนตามม.1440(1) ได้ ฎ.5777/2540
-ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการแต่งงาน ค่าเลี้ยงดูแขก ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส มาตรา 1440 (2) ฟ้องเรียกไม่ได้ ฎ.945/2491,90/2512
.......กรณีคู่หมั้นตายก่อนสมรส ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิง ไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
สมรส
-การสมรสจะทำกันได้เมื่ออายุ 17 ปี บริบูรณ์ คู่สมรสต้องไม่วิกลจริตหรือไร้ความสามารถ คู่สมรสต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา คู่สมรสต้องไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม คู่สมรสต้องไม่เป็นคู่สมรสของผู้อื่น คู่สมรสต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากัน โดยต้องแสดงความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนบันทึกความยินยอมไว้
-หญิงหม้าย จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรส ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
1.คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2.สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์
4.มีคำสั่งศาลให้สมรสได้
-ผู้เยาว์ จะสมรสได้เมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง
........ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
-สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกัน ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ม.1461 วรรคสอง
-เหตุที่จะร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวมีด้วยกัน 4 กรณี
1.สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
2.ถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอัตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา
3.ถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอัตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีภริยา
4.การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุขอย่างมากของสามีหรือภริยา
.........ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
..........สัญญาก่อนสมรส คู่สมรสอาจทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรสได้ ข้อความในสัญญาใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับ ตกเป็น โมฆะ ม.1465 วรรคสอง
-แบบของสัญญาก่อนสมรส ดังต่อไปนี้
1.จดแจ้งข้อตกลงของสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรส พร้อมกับการจดทะเบียนสมรส
2.ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคน แล้วแนบหนังสือท้ายทะเบียนสมรส โดยจดในทะเบียนสมรสว่ามีสัญญานั้นแนบไว้
-ถ้ามิได้ทำตามแบบ ตกเป็นโมฆะ
-การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส เมื่อสมรสแล้ว จะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล ม.1467
-สัญญาก่อนสมรส ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต ไม่ว่าจะเพิกถอนโดยคำสั่งศาลหรือไม่ก็ตาม ม.1468
..........สัญญาระหว่างสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
-คู่สมรสฝ่ายหนึ่งให้สินส่วนตัว หรือสินสมรสแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นสัญญาระหว่างสมรส บอกล้างนิติกรรมการให้ได้ ฎ.3714/2548
-คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้ได้ ตามม.1469
-เหตุแห่งการบอกล้างนั้น ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อผู้ให้ไม่พอใจ ย่อมใช้สิทธิบอกล้างได้ ในเวลาที่เป็นสามีภริยากัน ฎ.4744/2539,818/2546
-สัญญาระหว่างสมรส มีลักษณะเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิไม่ได้ ม.375 แม้สัญญานั้นจะเป็นสัญญาระหว่างสมรส สามีภริยาก็ไม่อาจบอกล้างซึ่งเป็นการกลับสิทธิของบุคคลภายนอกได้ ฎ.11692/2555
-สัญญาระหว่างสมรสมีข้อตกลงห้ามบอกล้าง ตกเป็นโมฆะ ฎ.8739/2551
-สามีภริยา ตกลงหย่ากันเป็นหนังสือ ม.1514 และตกลงแบ่งทรัพย์สิน ไม่ใช่สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส สามีภริยาจะบอกล้างไม่ได้ ฎ.3666-3667/2535 แต่มีฎีกา 2039/2544 กลับแนวว่า สัญญาแบ่งทรัพย์สิน บอกล้างได้
-สามีภริยาตกลงแบ่งสินสมรสในระหว่างสมรส ถ้ายังไม่มีการบอกล้าง สินสมรสย่อมพ้นสภาพเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย คู่สมรสมีอำนาจจัดการโดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ม.1480 ฎ.79/2529
-สิทธิในการบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดไปยังทายาท ฎ.890/2517 ปชญ.
-ถ้าบอกล้างแล้วจึงถึงแก่ความตาย ผลของการบอกล้างไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไป ตกไปยังทายาทได้ ฎ.5485-5486/2537
****วิธีการบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส
-การฟ้องขอแบ่งสินสมรส ถือว่าเป็นการบอกล้างแล้ว ฎ.7978/2542
-ยื่นคำให้การว่า บอกเลิกข้อตกลงแล้ว ถือว่าแสดงเจตนาบอกล้างไปในตัว ฎ.2039/2544