สัญญา
สัญญาต่างตอบแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บัญญัติว่า "ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด"
มาตรา 370 บัญญัติว่า "ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านให้ใช้บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้บังคับแต่เวลาที่ทรัพย์นั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 195 วรรค 2 นั้นไป"
มาตรา 371 บัญญัติว่า "บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนมีเงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ
ถ้าทรัพย์นั้นเสียหายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้มิได้ และเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้โดยลดส่วนอันตนจะต้องชำระหนี้ตอบแทนนั้นลงหรือเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ แล้วแต่จะเลือก แต่ในกรณีที่ต้นเหตุเสียหายเกิดเพราะฝ่ายลูกหนี้นั้น ท่านว่าหากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่"
คำพิพากษาศาลฎีกาย่อ
-ตกลงซื้อขายไม้กัน มีการกำหนดตีตราไม้ที่ซื้อขายกันแล้ว ถือว่าไม้นั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ หากไม้เสียหายโทษผู้ขายไม่ได้ ตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ (ฎ.339/2506)
-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินยังไม่มีโแนด ปรากฎว่าเมื่ออกโฉนดแล้วต้องห้ามไม่ให้โอนภายใน 10 ปี การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยจะโทษผู้ขายไม่ได้ ผู้ขายจึงหลุดพ้นการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อ แต่ผู้ขายก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนตามมาตรา 372 วรรคหนึ่ง (ฎ.2526/2543)
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
คำพิพากษาฎีกาย่อ
-บุคคลภายนอก หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่คู่สัญญา คู่สัญญาจึงไม่จำต้องระบุตัวบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าเป็นผู้ใดโดยเฉพาะเจสะจงในขณะทำสัญญา (ฎ.277/2551)
-สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ต้องเป็นสัญญาที่ให้คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก ถ้าเป็นข้อตกลงที่เพียงแต่ให้สิทธิคู่สัญญาชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกหรือไม่ก็ได้นั้น ไม่ใช่สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก (ฎ.639/2530)
-แม้ทรัพย์ที่ยกให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 525 จึงไม่ต้องจดทะเบียน ก็พูกพันคู่สัญญาที่ต้องปฎิบัติตามข้อตกลง (ฎ.38/2537,6478/2541)
-การที่เจ้าของที่ดินทำสัญญาให้อีกฝ่ายปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน โดยตกลงให้ฝ่ายที่ปลูกสร้างอาคามีสิทธิเรียกเงินช่วยค่าก่อสร้าง จากผู้มาขอเช่าอาคาร โดยเจ้าของที่ดินจะทำสัญญาให้แก่ผู้มาขอเช่าอาคาร ถือว่าผู้มาขอเช่าอาคารเป็นบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ (ฎ.175/2512,2937/2523)
-คู่สัญญาอาจกำหนดให้บุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ตามสัญญาชำระหนี้ตอบแทนด้วยก็ได้ ยังคงถือว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกอยู่ บุคคลภายนอกเลือกเอาว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์หรือไม่ (ฎ.2733/2517,9213/2539)
-คู่สัญญาทำสัญญาใหม่ โดยไม่ระบุหนี้ที่ต้องชำระแก่บุคคลภายนอก ถือว่า คู่สัญญาตกลงระงับสิทธิของบุคคลภายนอกแล้ว (ฎ.1200/2552)
-สามีภริยาหย่ากัน และตกลงยกทรัพย์ให้บุตร เมื่อบุตรยังไม่ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา สามีภริยายังเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นคนละครึ่ง (ฎ.4561/2544)
-ถ้าบุคคลภายนอกยังไม่ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ หากเสียชีวิต ไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท (ฎ.2401/2515 ปชญ.)
-เมื่อบุคคลภายนอกถือเอาประโยชน์แล้ว ถือเป็นการได้มาโดยนิติกรรม ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง บุคคลภายนอกมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาด้วยตนเอง ฎ.1254/2493 ปชญ. และคู่สัญญาเดิม ก็ฟ้องได้ (ฎ.2675/2551,5925/2538)
เลิกสัญญา
คำพิพากษาฎีกาย่อ
-เมื่อมีการผิดสัญญา แม้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก็ได้ แต่มีสิทธิฟ้องบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาได้ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งและเรียกค่าเสียหายได้ตามมาตรา 213 วรรคท้าย (ฎ.6705/2541)
-แต่ถ้าใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามมูลหนี้อีกไม่ได้ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย (ฎ.2568/2521,982/2513 ป.)
-คู่สัญญาอาจตกลงทำสัญญาเลิกสัญญากันเองโดยสมัครใจก็ได้ (ฎ.4923/2546,2614/2543,6327/2549,2569/2556)
-การเลิกสัญญาโดยสมัครใจ อาจตกลงเลิกสัญญากันโดยชัดแจ้ง หรือ มี พฤติการณ์ที่ถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายก็ได้ เช่น คู่สัญญาต่างไม่ติดใจเรียกร้องให้อีกฝ่ายปฎิบัติตามสัญญาอีกต่อไป (ฎ.8188/2554,6990/2542,7618/2542)
-ต่างฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกันโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา (ฎ.5435/2546,6746/2547)
-ฝ่ายที่ผิดสัญญาบอกเลิกสัญญาแต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับขอใช้สิทธิริบเงินมัดจำ (ฎ.8175/2554)
--การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีสิทธิ แม้คู่สัญญาอีกฝ่ายจะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการบอกเลิกสัญญาก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาเลิกกัน (ฎ.5876/2541)
-กรณีตกลงกันให้เลิกสัญญากันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ในกำหนด แต่ตามพฤติการณ์คู่สัญญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ สัญญายังไม่เลิก (ฎ.4765/2549)
-การบอกเลิกสัญญาเป็นนิติกรรมที่ไม่มีแบบ ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงอาจบอกเลิกสัญญาโดยปริยายก็ได้ แต่ต้องทำโดยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (ฎ.4645/2540,654-655/2541)
-เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจะถอนไม่ได้ (ฎ.1900/2542)
การบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387
คำพิพากษาฎีกาย่อ
-แม้การบอกเลิกสัญญาจะไม่ชอบด้วยมาตรา 387 แต่การที่ต่างฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญา ถือว่าต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย ฎ.2569/2556
-สัญญาเช่าซื้อ ในทางปฏิบัติผู้ให้เช่าซื้อยอมรับค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนด ถือว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ หากผู้ให้เช่าซื้อต้องการบอกเลิกสัญญา ต้องปฎิบัติตาม มาตรา 387 ฎ.4866/2550,5794/2539,4211/2539
-สัญญาจะซื้อจะขาย หากผู้จะซื้อไม่ชำระเงินในกำหนด แต่พฤติการณ์คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ การบอกเลิกสัญญาต้องปฎิบัติตามมาตรา 387 ฎ.3233/2550
การบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 388
คำพิพากษาฎีกาย่อ
-คือ การที่วัตถุประสงค์ของสัญญา ซึ่งโดยสภาพหรือเจตนาของคู่สัญญาจะสำเร็จได้ด้วยการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด หรือ เป็นกรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ หากฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด อีกฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามมาตรา 387 ก่อน ฎ.1856/2523,44/2532,845/2541
-แต่ถ้าคู่สัญญาไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา กลับให้อีกฝ่ายปฎิบัติตามสัญญาต่อไป เช่นนี้ถือว่า คู่สัญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ต้องบอกกล่าวตามมาตรา 387 ก่อน ฎ.2791-2792/2524
ผลของการเลิกสัญญา ม.391-394
คำพิพากษาฎีกาย่อ
-ผู้ว่าจ้างต้องชดใช้ค่าก่อสร้างที่ผู้รับจ้างทำไปแล้ว จะให้ผู้รับจ้างรื้องานที่ทำไปแล้วไม่ได้ ฎ.175/2521,3322/2528
-ข้อตกลงสละสิทธิค่าแห่งการงาน มีผลบังคับกันได้ ฎ.2165/2556
-คู่สัญญาอาจตกลงกันล่วงหน้า ถ้ามีการเลิกสัญญาให้ผู้ว่าจ้างริบงานที่ทำไว้แล้วได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องชดใช้ค่าการงานเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม ฎ.458-459/2524 ป. เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลมีอำนาจลดได้ตามมาตรา 383 ฎ.9514/2544
-การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน พิจารณาจากมูลค่างานที่ทำให้ตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานในสัญญามาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะตามสัญญาอาจกำหนดสิ่งที่ไม่ใช่ค่าของงานลงไปด้วย ฎ.7618/2552
-เมื่อบอกเลิกสัญญาโดยชอบ ม.391 วรรคแรก แล้วสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจึงเป็นอันสิ้นสุดลง คู่สัญญาจะฟ้องบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ ฎ.5363/2545,2431/2552
-ถ้าต้องใช้เงินคืนให้แก่กัน ให้บวกดอกเบี้ย หากไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญา ให้คิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ม.391 วรรคสอง ตามมาตรา 7.ฎ.1378/2546
-เมื่อใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้อีก ตามมาตรา 391 วรรคสี่ กล่าวคือ ไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ฎ.2956/2548