แรงงาน
แรงงาน
แรงงาน ไม่ว่าจะเป็น แรงงานไทย ต่างด้าว นอกระบบ ในระบบ แรงงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ต่างก็ใชแรงงานด้วยกันทั้งนั้น กฎหมายแต่ละประเภทที่บังคับใช้ก็แตกต่างกันออกไป การคุ้มครองแรงงาน การควบคุมต่างๆ ทำให้มีข้อพิพาทแรงงาน ระหว่าง นายจ้าง กับ ลูกจ้าง อยู่ตลอด ทั้งสิทธิและหน้าที่ก็มีรายละเอียดจำนวนมาก ผมขอยกตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน
1.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
2.พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
3.พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537
4.พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
5.พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
6.พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560
กฎหมายแรงงานมีการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่7) พ.ศ.2562 เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น แก้ไขเพิ่มเติมให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง,แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (มาตรา 13),แก้ไขเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน,ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่ง 98 วัน โดยรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร (มาตรา 41) ,แก้ไขเพิ่มเติมให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาฯ ในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิง ในงานที่มีค่าเท่าเทียมกัน (มาตรา 53),แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างโดยกำหนดค่าชดเชยกรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ขั้นไปได้เงินชดเชย 400 วัน (มาตรา 118 (5) (6) ,การย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น หากลูกจ้างไม่ตามไปก็สามารถบอกเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย มาตรา 93(5) ,120,120/1