ทนายความ ทนาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ว่าจ้างทนายความ

Ep.1 ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายและนำไปใช้เป็นข้อมูลได้จริงซึ่งบิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ และให้การศึกษาตามสมควร กฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1564 หากบุตรอายุเกิน 20 ปี แต่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้บิดามารดาก็ต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไป

การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หากบุตรไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ก็มีสิทธิเรียกร้องได้

แล้วจะเรียกร้องค่าอุปการเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไหร่ ? 
ตามปพพ.มาตรา 1598/38 ระบุว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูศาลอาจให้เพียงใด หรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณี ในที่นี้ผู้เขียนขอแจ้งเป็นแนวทางว่า เกณฑ์ในการเรียกร้องขึ้นอยู่กับการนำสืบหลักฐาน เช่น นำสืบ รายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน ของผู้ให้ และรายจ่ายของบุตร เช่่น ค่าครองชีพ ค่าการศึกษาเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ในช่วงอายุของบุตร ให้ศาลพิจารณาได้ตามความเหมาะสม หากต่อมาฐานะของผู้ให้ยากจนลงหรือร่ำรวยขึ้น บุตร มีสิทธิขอให้ศาลสั่ง  เพิกถอน ลด เพิ่ม ก็ได้ ตามมาตรา 1598/39 

ค่าอุปการะเลี้ยงดูต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้นหรือไม่ จ่ายทีเดียวหรือครั้งคราว ?
ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ชำระเป็นเงิน ชำระเป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่ จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น หรือเว้นแต่ศาลจะเป็นผู้กำหนดให้ค่าอุปการะเป็นอย่างอื่น ก็ได้ ตามมาตรา 1598/40

บุตรจะขอสละสิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้ หรือจะโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้ และเจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับคดีสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูได้

ทนายคดีครอบครัว 22/8/2564



Visitors: 174,915
รับว่าความ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ